วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทบาทและหน้าที่ด้านโรคติดเชื้อ ของรพ. แม่สอดชายแดนไทย-พม่า

แม้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในด้านสาธารณสุขของประเทศ มีการตั้งมวลชน อสม.ในการเป็นประชาอาสาทำงานด้านสาธารณสุข  มีความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนในเด็กเกือบ 100 % แต่ปัญหาสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัญหาโดยเฉพาะโรคติดเชื้อที่ ติดต่อได้ง่ายทั้งอหิวาตกโรค วัณโรค ไข้กาฬหลังแอ่น  นโยบายรวมชาติอาเซียน นโยบายจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวล้วนส่งเสริมให้คนไทยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดัง กล่าวมากขึ้น   รพ.แม่สอดได้เป็นหน่วยเฝ้าระวังโรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่ร่วมกับกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ตั้งแต่ปี 2544 โดยเฝ้าระวังกลุ่มโรคอุจจาระร่วง  ไข้หวัดใหญ่  ไข้สมองอักเสบ
ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  รวมถึงเป็น รพ.ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวจดทะเบียน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่เชื้อ
     บทบาทการเป็นแหล่งเรียนรู้โรคติดต่อชายแดนเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของ รพ.แม่สอด ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้มีการเรียนรู้ของแพทย์ นักศึกษาแพทย์  และมีการวิจัยของแพทย์ โดยมีเป้าหมายความสำเร็จในปี 2558
ภาระกิจการรักษาและเรียนรู้ป้องกันโรคต้องดำเนินไปด้วยกันเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนต่อไป
     

ภาระกิจ

กลุ่มงานกุมารเวชกรรม รพ แม่สอด ดูแลผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยแบ่งเป็น
1.ทารกแรกเกิดที่เกิดใน รพ.ประมาณปีละ 2500-3000 คน
2.ทารกแรกเกิด อายุ น้อยกว่า 28 วันในหอผู้ป่วยทารกป่วยปีละประมาณ 500 คน
3.เด็กป่วยในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมประมาณปีละ 2500 คน
4.เด็กป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตปีละ 350 คน
5.ผู้ป่วยนอกเด็กปีละ 22000 ราย
โดยเป็นผู้ป่วยรับส่งต่อจาก รพ.ชุมชน และค่ายอพยพต่างมากประมาณ ปีละ 200 ราย

ประวัติหน่วยงาน

กลุ่มงานกุมารเวชกรรมก่อตั้งพร้อมโรงพยาบาลแม่สอดเมื่อปี 2502 โดยมีแพทย์หญิงกนกนารถ พิศุทธกุล อดีตผู้อำนวยการ รพ แม่สอดเป็นกุมารแพทย์คนแรก ต่อมานายแพทย์พิชัย กาญจนพิพัฒน์กุลนายแพทย์เชี่ยวชาญกุมารเวชกรรม ได้พัฒนากลุ่มงานจนสามารถจัดตั้งตึก ICU จำนวน 8 เตียง ในปี 2543  และ หอผู้ป่วยทารกป่วยเป็นจำนวน 15 เตียงในปี 2548
   กลุ่มงานได้พัฒนาคุณภาพบริการตามมาตรฐาน จนสามารถผ่านการ reaccreditation HA และ HPH ในปี 2552 และผ่านเกณฑ์ รพ สายใยรักระดับทอง ปัจจุบัน หลังจาก รพ.แม่สอดปรับเป็น รพ.ทั่วไปขนาด 420 เตียง กลุ่มงานกุมารเวชกรรมจึงให้บริการผู้ป่วยเด็กจำนวน 60 เตียง